เนื้อเยื่อพืช :เนื้อเยื่อเจริญ
เนื้อเยื่อพืช (Plant tissue)
เนื้อเยื่อพืช (Plant tissue) แบ่งตามลักษณะการเจริญของเนื้อเยื่อมี 2 ประเภท คือ เนื้อเยื่อเจริญ และเนื้อเยื่อถาวร
เนื้อเยื่อเจริญ (Meristematic tissue)
เนื้อเยื่อเจริญ (Meristematic tissue) เป็นเนื้อเยื่อที่ประกอบด้วยเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ สามารถแบ่งเซลล์แบบไมโทซีสได้ มีผนังเซลล์บางๆ ซึ่งประกอบด้วยเซลลูโลสเป็นส่วนใหญ่ มีรูปร่างได้หลายแบบ แต่โดยมากมักค่อนข้างกลม หลายเหลี่ยมหรือเป็นสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก นิวเคลียสใหญ่เด่นชัด แวคิวโอลขนาดเล็ก เซลล์อยู่ชิดกันจนไม่มีช่องว่างระหว่างเซลล์
เนื้อเยื่อเจริญแบ่งตามบริเวณที่พบได้ 3 ชนิด คือ
1. เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย (Apical meristem : L. apex = ยอด, Gr. meristos = แบ่ง) พบอยู่บริเวณปลายยอด ปลายราก และตา เพื่อทำหน้าที่ให้ส่วนต่าง ๆ ของพืชยาวขึ้นหรือสูงขึ้น
ภาพแสดงเนื้อเยื่อเจริญปลายยอดและปลายราก
2. เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง (Lateral meristem) จะพบหลังจากมีการเจริญขั้นที่สอง เป็นเซลล์รูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้า ผนังเซลล์บาง เรียงตัวเป็นระเบียบ แบ่งเป็น 2 ชนิด
1) วาสคิวลาร์ แคมเบียม : แทรกอยู่ระหว่าง ไซเลม และโฟลเอ็ม มีหน้าที่ สร้าง secondary xylem และ secondary pholem พบในพืชใบเลี้ยงคู่ทุกชนิด และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด
2) คอร์ก แคมเบียม : ทำหน้าที่สร้างคอร์ก เพื่อทำหน้าที่แทนเซลล์เอพิเดมิส
2) คอร์ก แคมเบียม : ทำหน้าที่สร้างคอร์ก เพื่อทำหน้าที่แทนเซลล์เอพิเดมิส
3. เนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อ(Intercalary meristem : L.intercalare = สอดแทรก ) อยู่บริเวณเหนือข้อของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ทำให้ปล้องยืดยาวขึ้น ซึ่งมีฮอร์โมนจิบเบอเรลลินเข้ามาเกี่ยวข้อง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น