เนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว

1. เนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว (Simple permanent tissue หรือ Simple tissue) เป็นเนื้อเยื่อที่ประกอบด้วยเซลล์ชนิดเดี่ยวกันมาอยู่รวมกันและทำหน้าที่เดี่ยวกัน มีหลายชนิด ได้แก่
            1.1 เนื้อเยื่อเอพิเดอร์มิส(Epidermis: 
Gr. epi = ข้างบน + derma = ผิวหนัง

                  เป็น simple tissue ที่อยู่ผิวนอกสุดของส่วนต่าง ๆ ของพืช เป็นเซลล์ที่มีชีวิต เมื่อโตเต็มที่แล้ว จะมี Vacuole ขนาดใหญ่ จนดัน protoplasm ส่วนอื่น ๆ ให้ร่นไปอยู่ที่ขอบเซลล์หมด
                หน้าที่ของ epidermis 
               ช่วยป้องกันอันตรายให้แก่เนื้อเยื่อที่อยู่ข้างใน และช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงด้วย
                  - ช่วยป้องกันการระเหย (คาย) น้ำ (เพราะถ้าพืชเสียน้ำไปมากจะเหี่ยว) และช่วยป้องกันน้ำไม่ ให้ซึมเข้าไปข้างในด้วย (เพราะถ้าได้รับน้ำมากเกินไป จะเน่าได้ )
                  - ช่วยในการแลกเปลี่ยนแก๊สทั้งไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ และออกซิเจน โดยทางปากใบ
                  - ช่วยดูดน้ำและเกลือแร่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางขนรากอ่อน
            1.2 เนื้อเยื่อพาเรงคิมา(Parenchyma: Gr. para = ขนาน, ข้างเคียง + en = เข้า, ข้างใน + chein = เท)
                  Parenchyma เป็น Simple tissue ที่ประกอบด้วย Parenchyma Cell ซึ่งเป็นเซลล์พื้นทั่ว ๆ ไป และพบมากที่สุดในพืช มีอยู่แทบทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนที่อ่อนนุ่มและอมน้ำได้มาก เช่น ในชั้น Cortex และ Pith ของรากและลำต้น และใน palisade และ spongy mesophyll ของใบ
                  Parenchyma cell เป็นเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ มีรูปร่างหลายแบบ แต่ส่วนใหญ่ทรงกระบอกกลม หรือทรงกระบอกเหลี่ยมด้านเท่า อาจกลมรี มีผนังเซลล์บาง ๆ
                  หน้าที่ Parenchyma
                  - ช่วยสังเคราะห์แสง
                  - สะสมอาหาร (พวกแป้ง โปรตีน และไขมัน ) น้ำ
                  - สร้างน้ำมันที่มีกลิ่นหอมหรืออื่น ๆ ตามแต่ชนิดของพืชนั้น ๆ
                  - บางส่วนช่วยทำหน้าที่หายใจ
            1.3 เนื้อเยื่อคอลเลงคิมา(Collenchyma: Gr. kolla = กาว + en = เข้า, ข้างใน + chein = เท)
                  Collenchyma เป็น Simple tissue ที่ประกอบด้วย Collenchyma cell พบมากในบริเวณ Cortex ใต้ epidermis ลงมา ในก้านใบ เส้นกลางใบ เป็นเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ เซลล์อัดแน่น ขนาดของเซลล์ส่วนมากเล็ก หน้าตัดมักเป็นรูปสี่เหลี่ยมแต่ยาวมาตาม ความยาวของต้น และปลายทั้งสองเสี้ยมหรือตัดตรง
                  หน้าที่ของ Collenchyma 
                  - ช่วยทำให้ส่วนต่าง ๆ ของพืชเหนียวและแข็งแรงทรงตัวอยู่ได้
                  - ช่วยป้องกันแรงเสียดทานด้วย

            1.4 เนื้อเยื่อสเกลอเรงคิมา(Sclerenchyma: 
Gr. skleros = แข็ง 
+ en = เข้า, ข้างใน + chein = เท )
                  Sclerenchyma เป็น Simple tissue ที่ประกอบขึ้นด้วยเซลล์ซึ่งมีลักษณะทั่วๆ คือ เป็นเซลล์ที่ตายแล้ว (ตอนเกิดใหม่ ๆ ยังมีชีวิตอยู่แต่พอโตขึ้น Protoplasm ก็ตายไป ) เซลล์วอลหนามากประกอบขึ้นด้วยเซลล์ลูโลสและลิกนิก เนื้อเยื่อชนิดนี้แข็งแรงมากจัดเป็นโครงกระดูกของพืช
                  Sclerenchyma จำแนกออกได้เป็น ชนิดตามรูปร่างของเซลล์ คือ
                     1. Fiber เรามักเรียกว่าเส้นใย ประกอบด้วยเซลล์ที่ตายแล้ว มีลักษณะเรียวและยาวมากปลายทั้งสองเสี้ยม หรือค่อนข้างแหลม มีความเหนียวและยึดหยุ่นได้มากจะเห็นได้จากเชือกที่ทำจากลำต้นหรือใบของพืช ต่าง ๆ
                         หน้าที่ของ Fiber
                         - ช่วยให้ความแข็งแรงแก่พืช
                         - ช่วยพยุงลำต้นให้ตั้งตรงและแข็งแรง และให้ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของ คนมาก เช่น พวกเชือก เสื้อผ้า ฯลฯ ก็ได้มาจากไฟเบอร์ ของพืชเป็นส่วนใหญ่
  
                      2. Sclereid(Gr. skleros = แข็ง) หรือ Stone cell ประกอบด้วยเซลล์ที่ตายแล้ว มีลักษณะคล้ายกับไฟเบอร์ แต่เซลล์ไม่ยาวเหมือนไฟเบอร์ เซลล์อาจจะสั้นกว่าและป้อม ๆ อาจกลมหรือเหลี่ยมหรือเป็นท่อนสั้น ๆ รูปร่างไม่แน่นอน พบอยู่มากตามส่วนแข็ง ๆ ของพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามเปลือกของเมล็ดหรือผลไม้ เช่น กะลามะพร้าว เมล็ดพุทรา เมล็ดแตงโม หรือ ในเนื้อของผลไม้ที่เนื้อสาก ๆ เช่น เสี้ยนในเนื้อของลูกสาลี่ เนื้อน้อยหน่า ฝรั่ง
                         หน้าที่ของ Stone cell
                         - ช่วยให้ความแข็งแรงแก่ส่วนต่าง ๆ ของพืช (เพราะเป็นเซลล์ที่แข็งมาก)

           1.5 เนื้อเยื่อเอนโดเดอร์มิส(Endodermis)


1.6 เนื้อเยื่อคอร์ก (Cork) เป็นเนื้อเยื่อชั้นนอกสุด ของลำต้นและรากใหญ่ ๆ ที่แก่แล้ว ของไม้ยืนต้น เซลล์ของคอร์ก มีลักษณะคล้ายพาเรนไคมาเซลล์ แต่ผนังหนากว่ามีทั้ง ไพมารีและเซคันดารี วอลล์ และตามปกติจะไม่มีพิตเลย เนื้อเยื่อคอร์ก มีแต่เซลล์ที่ตายแล้ว ต้นไม้บางชนิดมีคอร์ก หุ้มหนามาก จนบางทีเราลอกเอามาทำจุกขวดหรือแผ่นไม้คอร์กนั่นเอง คอร์กยังพบที่โคนก้านใบขณะที่ใบกำลังจะร่วง และแผลเป็นตามลำต้น
          หน้าที่ของคอร์ก
           - ช่วยป้องกันการระเหยของน้ำ ป้องกันความร้อน ความเย็น และอันตรายต่าง ๆ จากภายนอก

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เนื้อเยื่อถาวร