นื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อน

 2. เนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อน (Complex permanent tissue หรือ Complex tissueเป็นเนื้อเยื่อที่ประกอบด้วยเซลล์หลายชนิดมาอยู่รวมและทำงานร่วมกัน ได้แก่ ระบบท่อลำเลียง (Vascular bundle หรือ Vascular tissue) ซึ่งแบ่งได้ ๒ ชนิด ได้แก่
            - เนื้อเยื่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ เรียกว่า ไซเลม (Xylem)
            - เนื้อเยื่อลำเลียงอาหาร เรียกว่า โฟลเอม (Phloem)


2. เนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อน เป็นเนื้อเยื่อถาวรที่ประกอบขึ้นด้วย เซลล์หลายชนิดอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน เพื่อทำงานร่วมกัน ประกอบขึ้นด้วย กลุ่มด้วยกันคือ Xylem และ Phloem ซึ่งจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ที่เรียกว่า Vascular bundle หรือ Vascular tissue นั่นเอง

  *** Stone cell ประกอบด้วยเซลล์ที่ตายแล้ว มีลักษณะคล้ายกับไฟเบอร์ แต่เซลล์ไม่ยาวเหมือนไฟเบอร์ เซลล์อาจจะสั้นกว่าและป้อม ๆ อาจกลมหรือเหลี่ยมหรือเป็นท่อนสั้น ๆ รูปร่างไม่แน่นอน พบอยู่มากตามส่วนแข็ง ๆ ของพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามเปลือกของเมล็ดหรือผลไม้ เช่น กะลามะพร้าว เมล็ดพุทรา เมล็ดแตงโม หรือ ในเนื้อของผลไม้ที่เนื้อสาก ๆ เช่น เสี้ยนในเนื้อของลูกสาลี่ เนื้อน้อยหน่า ฝรั่ง
                    หน้าที่ของ Stone cell
                     - ช่วยให้ความแข็งแรงแก่ส่วนต่าง ๆ ของพืช (เพราะเป็นเซลล์ที่แข็งมาก)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว

เนื้อเยื่อถาวร